Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
จำนวนครั้งที่เปิดดูสินค้า : 38145 | ความคิดเห็น: 0

ตะกรุดโทน คู่ชีวิต หลวงปู่ขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี สวยเดิมมาก ไม่ผ่านการใช้ ไม่ผ่านการแกะเลย

 เพิ่มเมื่อ: 2012-08-29 19:07:05.0
 แก้ไขล่าสุด: 2024-06-20 22:36:43.0
 เบอร์โทรติดต่อ: 0816516654
 อีเมลล์: meteekit@yahoo.co.th

รายละเอียด:
ตะกรุดโทน คู่ชีวิต หลวงปู่ขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี สวยเดิมมาก ไม่ผ่านการใช้ ไม่ผ่านการแกะเลย
1800.00 บาท

 สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เหรียญพระหลักเมือง-เสื้อเมือง ฉลองรัตนโกสินทร์200ปี 2525 กะหลั่ยทอง100% เหรียญเดียวครบทุกเรื่องทุกอย่าง เหรียญ 3 มหาเทพ เจ้าพ่อเสือ 玄天上帝, เง็กเซียนฮ่องเต้ 玉皇大帝, ปรมาจารย์เท เขาควายเผือกแกะ 12 นักษัตร รูปลิง เลี่ยมพร้อมใช้ ไม่ทราบที่ ผ้ายันต์เก่า ไม่ทราบที่ ไม่รู้ปี มีรอยจารหมึก เก่าจริง ตัวจริง.. บูชา 1,000 บาท เจ้าแม่กวนอิม พระอวโลกิเตศวร ไฉ่ซิ่งเอี้ย เทพเจ้าโชคลาภ ชัมภาลา จีเต็กลิ้ม นครนายก เนื้อผงมหาโชคมหาล

ตะกรุดโทน คู่ชีวิต หลวงปู่ขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี สวยเดิมมาก ไม่ผ่านการใช้ ไม่ผ่านการแกะเลย เชือกขาวๆ เลยครับ เก็บไว้อย่างดี พร้อมสายคาดเอวเดิมๆ ยาว 4.5 นิ้ว หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณ ปี๒๕๓๑

 

บูชา 1,800 บาท

 

ตะกรุดโทนสามห่วง (ตะกรุดตัดกรรม)  กนเป็นไม้ไผ่ตัน(มหาอุตม์) หุ้มด้วยแผ่นตะกั่วจารอักขระยันต์ แล้วถักด้วยเชือกขาว สามห่วงหูห้อยเป็นเอกลักษณ์

 

หลวงพ่อขอม ท่านเรียนวิชาทำตะกรุด

มาจากหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม หลวงพ่อขอมท่านเป็นอีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ที่มากด้วยบารมี สร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย  ท่านยังเป็นลูกศิษย์ยุคท้ายๆ ของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และท่านได้ไปศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และพระเกจิอาจารย์รูปอื่นๆ

  
ประวัติของหลวงพ่อขอม

หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว(วัดโพธาราม) สุพรรณบุรี 1 ในเกจิที่สังขารไม่เน่าเปื่อย  ท่านเป็นลูกศิษย์ยุคท้ายๆของหลวงพ่อโหน่ง และท่านได้ไปศึกษาเพิ่มเติมจากหลวงพ่อปานและเกจิอาจารย์อื่นๆอีกด้วย ท่านได้ตั้งสัจจะอุทิศกาย วาจา และใจเพื่อพระศาสนา ได้สร้างพระเครื่องบูชาไว้มากมาย โดยในยุคต้นๆท่านจะแจกให้ญาติโยมโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ แต่พระเครื่องของท่านเท่าที่ได้ศึกษาและรับฟังมา มีประสบการณ์มากมายจริงๆ สมัย30-40ปีก่อน คนมักมองข้ามพระเครื่องของท่าน แต่มาในปัจจุบันเริ่มมีราคาแพงขึ้นไปทุกขณะ

เดิมท่านชื่อ เป้า แต่เพื่อนๆ เรียกท่านว่า ขอม เมื่อได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว พระขอม หรือ อนิโชภิกษุ ได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดบางสาม ได้ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัย ด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง และปฏิบัติตนในศีลาจารวัตรเป็นอย่างดี อยู่หลายปี
จนกระทั่งเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงมาถึง ได้มีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า “วัดไผ่โรงวัว”
ด้วยเหตุที่นี่ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้น ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ที่สมควรได้รับตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ ไม่มีท่านใดเหมาะเท่า พระขอม
เมื่อลงความเห็นดังนี้ ต่างก็พากันกันไปนิมนต์ พระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัว พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่น ไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา ๒ ปี
ชีวิตของท่านในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ สิ่งนี้ทำให้พระขอมพิจารณาตนเอง และเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจ้าวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่ วัดประตูสาร ใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป ๓ ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ
คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่ง อย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารภารกิจให้พระศาสนาอย่างเต็มที่
ดังได้กล่าวแล้วว่า วัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ จึงยังไม่ถึงพร้อมในทุกๆ ด้าน คือไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย กุฏิที่อยู่จำพรรษาของพระภิกษุสามเณร ก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง ๒ หลัง ศาลาการเปรียญที่เป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายกทายิกา เป็นเพียงเรือนไม้ไผ่หลังคามุงจาก อาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลา น่าอนาถใจยิ่ง
ภาระของพระขอม คือต้องปรับปรุงศาสนสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิงสมกับเป็นวัดก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นชั้น ที่สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างมีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดินไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใดน้ำท่วมทุกปี และท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจวแล่นถึงกุฏิได้
เมื่อถมดินเสร็จ ท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำ และน้ำดื่มของพระภิกษุสามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สมกับคำว่า “วัด” ทำให้ศรัทธาของชาวบ้านก็เพิ่มมากขึ้น
นับตั้งแต่พระขอมได้บวชเป็นพระสงฆ์ ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่ามโนปณิธาน เรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า
“…อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูป จะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลย จนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า…”
ด้วยมโนปณิธานนี้เอง ทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้าง พระพุทธโคดม ด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อขอมเริ่มบอกบุญแก่ญาติโยม ใช้เวลา ๒ ปี กว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด ๑๒ ปี จนแล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๕๑๒
หลังจากนั้น ท่านก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่าง เช่น สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์ และอีกหลายๆ อย่างด้วยกัน ดังที่เห็นกันในทุกวันนี้
มีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเคยถามหลวงพ่อขอมว่า จะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านตอบว่า “อาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธา และอนุชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาเรื่องราวของพุทธประวัติ”
นอกจากงานก่อสร้างแล้ว หลวงพ่อขอมท่านยังเป็นนักเขียน นักแต่ง ที่มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฏอยู่หลายเรื่อง เฉพาะที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มีเรื่อง ธรรมทูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา

จนถึงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๕๕ หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๘ ทำให้นึกถึงคำปฏิญาณของหลวงพ่อขอม ที่ท่านได้กล่าวไว้ ๕ ข้อ คือ

๑.ชีวิตของเราที่เหลือ ขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย

๒.เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงินส่วนตัวสัก ๑ บาท เราจะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง

๓.เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี

๔.โอ…โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน และ

๕.เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา

 

หลวงพ่อมีถูกลองของ 

เมื่อปี พ.ศ.2518 ทางวัดบางนมโค จัดพิธีมหาพุทธภิเษกในงานทำบุญ 100 ปีของหลวงพ่อปาน ซึ่งครั้งกระนั้นมีพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมมาร่วมพิธีปรกปลุกเสก 4 องค์ด้วยกันคือ หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา รวมทั้งหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย พระเถระจารย์ในศิษย์หลวงพ่อปาน ที่วัดบางนมโคต้องนิมนต์ท่านมาร่วมพิธีทุกครั้งเมื่อมีงาน 
หลวงพ่อมีเข้าไปในโบสถ์วัดบางนมโค เป็นองค์ที่ 3 ต่อจากหลวงพ่อเชิญและหลวงพ่อเมี้ยนและด้วยความที่หลวงพ่อมีเป็นพระอาจารย์ ที่มีอุปนิสัยนอบน้อมถ่อมตนเห็นว่าตนเองยังมีอายุน้อย ท่านจึงเลือกธรรมมาสน์ที่หันหน้าเข้าหาประธานตรงที่นาคนั่งขานนาคในเวลา อุปสมบท 
ขณะนั้นหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัวมาถึงพอดี ท่านจึงขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ที่เหลือซึ่งตั้งอยู่หน้าพระประธาน อันเป็นที่นั่งพระอุปัชฒาย์จึงหันหน้าชนกับหลวงพ่อมีโดยมีประรำมงคลวัตถุ ขึ้นอยู่ระหว่างกลาง 
พอพระภิกษุสงฆ์สวดพุทธาภิเษา หลวงพ่อมีก็เข้าสมาธิจิตปลุกเสก ฉับพลันนั้นท่านก็รู้สึกว่า มีสิ่งของตกลงมาธรรมาสน์ใกล้หน้าแข็งของท่านดัง "กึก" 
หลวงพ่อมีนั่งเข้าสมาธิจิตเฉยเมยไม่ได้มีความสนใจไยดีต่อเสียงรอบข้างแต่อย่างใด 
สักครู่หนึ่ง ก็มีเสียงตกลงมาดังกึกบนธรรมาสน์ที่เดียวกันอีกครั้งและมีเสียงกุกๆกักๆพอได้ยิน 
หลวงพ่อมีทราบได้ในทันทีว่า ถูกลองของแน่แล้ว แต่ไม่มีอารมณ์หวั่นไหวยังคงนั่นหลับตาเฉย พร้อมกับเข้า เตโชกสิณ อธิษฐานจิตให้เห็นว่าสิ่งที่ตกลงมา 2 ครั้งนั้นมันเป็นอะไรกันแน่ 
ด้วยทิพยอำนาจแห่งเตโชกสิณ สิ่งที่ปรากฏภายในดวงจิตของหลวงพ่อมีก็คือ ตะปูโลงผี ขนาด 3 นิ้ว 2 ตัว กำลังเคลื่อนไหวดุจมีชีวิตอยู่ไปมา 
หลวงพ่อมีจึงลืมตาก้มหน้าลงมามองดูด้วยตาเนื้อเพื่อให้รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร 
สิ่งที่ปรากฏแก่สายตาหลวงพ่อมีขณะนั้นตะปูจริงๆและกำลังหันปลายแหลมตั้งชี้พุ่งขึ้นมาหาหลวงพ่อมีทั้ง 2 ตัว 
พระเถระแห่งวัดมารวิชัย วางมือขวาลงไปใช้นิ้วชี้กดตะปู 2 ตัว พร้อมกับว่าพระพระคาถาเป่าพรวดลงไปเบาๆตาปูโลงผีก็หมดฤทธิ์ ท่านจึงเก็บไว้ใต้ผ้าอาสนะแล้วเริ่มเข้าสมาธิจิตปลุกเสกอิทธิมหามงคลต่อไป 
ทันใดนั้น ก็มีตะปูตกลงมาใกล้หน้าแข้งท่านอีกเป็นตัวที่ 3 ตัวที่4 และตัวที่ 5 ซึ่งหลวงพ่อมีก็เก็บแล้วเขี่ยเข้าไปในอาสนะที่ท่านนั่งจนครบ 5 ตัว อธิษฐานจิตเพื่อดูให้รู้แน่ว่าถูกพระอาจารย์ดีองค์ไหนในจำนวนทั้ง 3 รูป คือ หลวงพ่อขอม หลวงพ่อเชิญ หลวงพ่อเมี้ยน 
ภาพของพระอาจารย์ที่แกล้งทดสอบวิทยาคมก็ผุดขึ้นจักขุทวารและมโนทวาร....... 
หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว พระอาจารย์ผู้เลิศล้ำแห่งจังหวัดสุพรรณบุรีนั่นเอง 
หลวงพ่อมียังไม่แน่ใจว่าจะเป็นหลวงพ่อขอมหรือไม่ท่านจึงอธิษฐานนึกถึง ภาพหลวงพ่อเชิญและหลวงพ่อเมี้ยนตามลำดับ แต่ภาพนิมิตที่เกิดขึ้นภายในความคิดทุกครั้งกลับกลายเป็นภาพของหลวงพ่อขอม เช่นเดิม 
ต้องเป็นหลวงพ่อขอมแน่ๆหลวงพ่อมีนึกคิด พอเสร็จพิธีพุทธาภิเษกจบที่ 4 ผู้คนเข้าไปกราบสักการะหลวงพ่อขอมอย่างล้นหลาม เพราะท่านเป็นพระเกจิมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในขณะนั้น 
หลวงพ่อมีหยิบตะปูใส่พาน 4 ตัว แล้วเก็บไว้ 1 ตัว เพื่อเป็นที่ระลึก 1 ตัว และเอาดอกไม้ธูปเทียนวางทับปิดบังตะปูไว้ เดินตรงรี่เข้าไปถวายหลวงพ่อขอม เป็นการแสดงความคารวะ 
หลวงพ่อขอมทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ยอมรับเฉยๆเสียอย่างนั้น หลวงพ่อมีจึงพูดขึ้นว่า 
"หลวงพ่อผมเอาดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย" 
หลวงพ่อขอมจึงรับประเคนจากหลวงพ่อมี อย่างขัดไม่ได้ ปกติท่านไม่ได้รับทั้งพานคงใช้มือรวบเอาเฉพาะธูปเทียนเท่านั้น ท่านจึงมองเห็นตะปูวางอยู่ในพาน 
หลวงพ่อขอมจึงเอ่ยถามหลวงพ่อมีขึ้นว่า 
"นั่นอะไร" 
หลวงพ่อมี ตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำ แบบคนจริงว่า 
"ตะปูของหลวงพ่อ ผมนำมาถวายคืน" 
หลวงพ่อจึงรับพานไป แล้วพูดติดขำขันอย่างสบายอารมย์ เป็นการยอมรับหลวงพ่อมี แถมรู้ทันถามตรงๆขึ้นว่า 
"แล้วตะปูอีกตัวหนึ่ง เก็บเข้าไว้ในย่ามทำไม" 
หลวงพ่อมีตอบอย่างนอบน้อมว่า 
"ขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกครับ" 
นั่นแสดงถึงความลึกล้ำในเวทวิทยาคมขององค์พระเกจิอาจารย์สมัยนั้นว่าลึกล้ำเก่งกาจ มีอำนาจพลังทางจิตมากมายขนาดไหน สุดยอดจริงๆ

guest
ชื่อ
Email
เบอร์โทรศัพท์