Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ไวรัสตับอักเสบ

วันที่: 2011-03-15 15:59:35.0view 53326reply 0

โรคไวรัสตับอักเสบ

ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ปกติจะมีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม โดยอยู่หลังกระบังลม

หน้าที่ของตับ

  • เป็น คลังสะสมอาหาร เช่น แป้ง ไขมัน โปรตีน เอาไว้ใช้ และปล่อยเมื่อร่างกายต้องการ
  • สังเคราะห์สารต่างๆ เช่น น้ำดี สารควบคุมการแข็งตัวของเลือด ฮอร์โมน
  • กำจัดสารพิษ และสิ่งแปลกปลอม เช่นเชื้อโรค หรือยา 

โรคตับชนิดต่างๆ

ตับมีโอกาสเป็นโรคต่างๆได้แก่ โรคตับอักเสบ hepatitis โรคตับแข็ง [cirrhosis] มะเร็งตับ [liver cancer] โรคไขมันในตับ [fatty liver] โรคฝีในตับ [liver abscess]

โรคตับอักเสบมี 2 ชนิด

  1. โรค ตับอักเสบเฉียบพลัน [acute hepatitis] หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต
  2. โรคตับอักเสบเรื้อรัง [chronic hepatitis] หมายถึงตับอักเสบที่เป็นนานกว่า 6 เดือนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด
  • chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆเป็นและไม่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถที่จะ ทำให้ตับมีการอักเสบมาก
  • chronic active hepatitis.มีการอักเสบของตับ และตับถูกทำลายมากและเกิดตับแข็ง

สาเหตุของโรคตับอักเสบ

  1. เชื้อไวรัส มีหลายชนิดได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ,บ,ซี,ดี,อี
  2. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  3. ยา บางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs. ผู้ป่วยหากได้ acetaminophen (พาราเซ็ตตามอล)ในขนาดสูงมากก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
  4. เชื้อโรคบางชนิด เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย

การ อักเสบของตับจะทำให้ตับบวม มีการทำลายเซลล์ตับ ทำให้มีอาการอ่อนเพลียจากการทำงานผิดปกติของตับ หากการอักเสบเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะทำให้ตับถูกทำลายมาก และถูกแทนที่ด้วยพังผืด ทำให้ตับมีแผลเป็น และมีลักษณะแข็งเป็นตุ่มๆ แม้ว่าสาเหตุของตับอักเสบจะมีมากมายแต่สาเหตุที่สำคัญคือไวรัสตับอักเสบ ปัญหาโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก การดำเนินของโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบ ซีสามารถดำเนินเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับ เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก ดังนั้นการเข้าใจถึงโรคตับอักเสบ ซึ่งรวมถึงการติดต่อ การดำเนินของโรค การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการติดต่อซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลง

ไวรัสตับอักเสบมีกี่ชนิด

  • ไวรัสตับอักเสบ เอ
  • ไวรัสตับอักเสบ บี
  • ไวรัสตับอักเสบ ซี
  • ไวรัสตับอักเสบ ดี
  • ไวรัสตับอักเสบ อี

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ

ผู้ป่วยดีซ่านตาขาวและผิวจะมีสีเหลือง

  • ตับ อักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่าร้อยละ 5-10 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 85 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ตับ อักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่จะมีการทำลายเซลล์ตับไปเรื่อยๆจนเกิดตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับในที่สุด

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับอักเสบ

หากสงสัยว่าจะเป็นโรคตับอักเสบท่านควรไปรับการตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อหรือไม่โดย

  1. ตรวจ การทำงานของตับ โดยการหาระดับ SGOT[AST],SGPT [ALT]ค่าปกติน้อยกว่า 40 IU/L ถ้าค่ามากกว่า 1.5-2 เท่าให้สงสัยว่าตับอักเสบ หากพบว่าผิดปกติแพทย์จะขอตรวจเดือนละครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน การแปรผลเลือด
  2. การตรวจหาตัวเชื้อ
  • ไวรัสตับอักเสบ เอ ตรวจหา Ig M Anti HAV
  • ไวรัส ตับอักเสบ บี ตรวจหา HBsAg ถ้าบวกแสดงว่ามีเชื้ออยู่   Anti HBs ถ้าบวกแสดงว่ามีภูมิต่อเชื้อ  HBeAg ถ้าบวกแสดงว่าเชื้อมีการแบ่งตัว HBV-DNA เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณเชื้อ
  • ไวรัสตับอักเสบ ซี Anti-HCV เป็นการบอกว่ามีภูมิต่อเชื้อ  HCV-RNA ดูปริมาณของเชื้อ
  1. การตรวจดูโครงสร้างของตับ เช่นการตรวจคลื่นเสียงเพื่อดูว่ามีตับแข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่
  2. การตรวจชิ้นเนื้อตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำชิ้นเนื้อตับเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรค

การรักษา

การ เลือกใช้ยาจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเนื่องจากยามีผลข้างเคียง ที่พึงระวังหลายอย่าง ยาที่ใช้อยู่มี interfeon และ lamuvudin

การปฏิบัติตัว

  • หลีก เลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วงที่มีการอักเสบของตับ แต่การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • รับ ประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างพอเพียง ไม่ต้องดื่มน้ำหวานมากๆ เพราะทำให้ไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขึ้น

ถ้าเคยเป็นแล้วจะมีโอกาสติดเชื้ออีกหรือไม่

ถ้า เป็นไวรัสตับอักเสบ เอ และ อี จะหายขาด ไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 90 หายขาด ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี และ ดี ยังไม่มีข้อมูล

พาหะของโรคจะทำอย่างไร

ผู้ ป่วยที่เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกาย แต่ไมแสดงอาการของตับอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และต้องมั่นติดตามการดูแลจากแพทย์เป็นระยะๆ ผู้ป่วยที่เป็นพาหะมักเป็นกับเชื้อ บี และ ซี เท่านั้น

ถ้ามารดาเป็นตับอักเสบจะมีผลอย่างไรต่อบุตร

บุตร ที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีจะมีโอกาสติดเชื้อได้สูง แต่ปัจจุบันการฉีดวัคซีนให้กับทารกสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แม่สามารถให้นมบุตรได้

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/GI/hepatitis/hepaindex.htm

 

ไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิดครับ (A, B, C, D, E เป็นต้น)

ไวรัสตับอักเสบ E พบน้อยมากจะไม่พูดถึง
ไวรัสตับอักเสบ D ก็พบน้อยเช่นกัน อีกทั้งต้องติดไวรัสตับอักเสบ B ก่อนถึงจะเป็นไวรัสตับอักเสบ D ได้

ไวรัส ตับอักเสบ A ติดต่อทางการรับประทานได้ เนื่องจากเชื้อจะปนออกมาในน้ำลาย และอุจจาระผู้ที่ป่วยได้ ดังนั้นถ้าผู้ป่วยคนนี้ไปทำอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ปอกผลไม้ หรือหยิบจับอะไรโดนที่ล้างมือไม่สะอาด คนที่รับประทานเข้าไปก็อาจติดได้ หรือรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยโดนที่ไม่มีช้อนกลาง หรือบางที่รับประทานอาหารบางชนิดดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ ก็อาจติดได้เช่น พวกหอย กุ้ง ปู เป็นต้น เพราะสัตว์พวกนี้กรองน้ำที่มีอาหารหรือพวกแพลงตอนเป็นอาหาร ถ้าน้ำบริเวณนั้นมีเชื้ออยู่ (บอกแล้วว่ามันออกมากับอุจจาระ) ในสัตว์ชนิดนั้นก็จะมีเชื้ออยู่เราก็จะติดได้ครับ

ไวรัสตับอักเสบ A นั้นมันเป็นแบบเฉียบพลัน หายขาด หรือตายไปเลย ไม่เป็นเรื้อรังครับ

ส่วนไวรัสตับอักเสบ B และ C นั้น วิธีการติดต่อเหมือนโรคเอดส์ครับ คือ
  1. ติดต่อ ทางการได้รับเลือดจากบุคคลที่เป็นโรคนี้ - เนื่องจากปัจจุบันสภากาชาด มีการตรวจเชื้อพวกนี้ในผลิตภัณฑ์จากโลหิตทุกชนิด ส่วนมากจะปลอดภัย 99.99% ครับ อาจมีหลุดรอดได้บ้างถ้าคนที่เป็นเพิ่งได้รับเชื้อมาแล้วมาบริจาคเลือดแล้ว ตรวจไม่พบ
  2. ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - วิธีป้องกัน คือ ถุงยางอนามัยครับ
    แต่ถ้าตรวจพบว่าคู่ของคุณ (สามี หรือ ภรรยา เป็น อีกฝ่ายควรไปตรวจ ถ้ายังไม่เป็นก็ไปฉีดวัคซีนได้ครับ เฉพาะไวรัสตับอักเสบ B นะครับ C ยังไม่มีวัคซีน)
  3. ติดต่อจากมารดาสู่บุตรตอนคลอด - อันนี้ที่น่าเป็นห่วงเพราะเราไม่รู้ว่าเป็นอยู่ จะรู้อีกทีก็มีอาการแล้ว

โดย ปกติถ้าเราติดมาจากมารดาแต่แรกคลอด เนื่องจากเด็กๆ ภูมิคุ้มกันโรคยังไม่ดี จึงมักจะไม่มีอาการอะไร แต่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นจะไม่หายขาดกลายเป็นไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง หรืออาจเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ

แต่ถ้าเราติดตอนโตแล้ว มักจะมีอาการรุนแรง อาการก็จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปัสสาวะสีเข้ม คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตัวตาเหลืองได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของผู้ใหญ่ดีจึงมีปฎิกิริยามากกว่า แล้วส่วนใหญ่ 80-90% มักจะหายขาด มีส่วนน้อยที่จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง หรือกลายเป็นพาหะ

เนื่องจากไวรัสตับอักเสบชนิด A, B, C, D, E ไม่มีการรักษาตอนที่เริ่มติดมาแล้ว ฉะนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การรักษาที่มีอยู่เป็นการรักษาผู้ที่ติดเชื้อแล้วเชื้อโรคไม่สงบเชื้อยัง ทำลายตับอยู่ครับ จะพูดถึงต่อไป

ไวรัสตับอักเสบ B สามารถเป็นทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังได้

ถ้า เป็นเฉียบพลันก็อาการดังข้างต้น เหมือนกันทุกไวรัสตับอักเสบ ไม่มีการรักษาเฉพาะ รักษาตามอาการ แล้วรอหายเอง เมื่อหายแล้วอาจจะเป็นได้ดังนี้

1. เป็นแล้ว หายขาดแล้ว มีภูมิคุ้มกันโรคแล้ว ก็ไม่ต้องทำอะไร แค่ระวังไม่ให้ติดใหม่ครับ
2. เป็นแล้ว หายขาดแล้ว แต่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ก็ไม่ต้องทำอะไร ก็ระวังไม่ให้ติดใหม่อีกเช่นกัน
3. เป็นแล้ว ไม่หายขาด แต่เชื้อสงบไม่มีการแบ่งตัว ไม่มีการทำลายตับ อันนี้เราเรียกว่าเป็น "พาหะ" คนไข้ไม่มีอาการแต่จะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ การรักษาไม่มีแค่ต้องรู้และไม่แพร่เชื้อไปให้ผู้อื่น ร่วมทั้งจะมีการเจาะเลือดติดตามการทำงานของตับ และการอัลตร้าซาวน์ตับเป็นระยะ
4. เป็นแล้ว ไม่หายขาด เชื้อไม่สงบมีการแบ่งตัว และ/หรือ มีการทำลายตับ อันนี้ก็มียาที่พอจะทำให้เชื้อสงบและลดการทำลายตับได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดครับ ต้องเจาะเลือดตรวจเพิ่มเติ่มและต้องตรวจเป็นระยะ อีกทั้งต้องตัดเอาชิ้นเนื้อจากตับออกมาตรวจดูด้วยครับ แต่ยาที่มีในปัจจุบันถือว่ามีประสิทธิภาพดีในระดับหนึ่ง แต่ก็มีคนไข้บางส่วนไม่ตอบสนองกับยาครับ คงต้องรอในอนาคตครับ

ไวรัสตับอักเสบ C พบน้อยมากๆ ที่จะเป็นเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื้อรัง
1. เป็นแล้ว เชื้อสงบ ก็ติดตามเหมือนไวรัสตับ B
2. เป็นแล้ว เชื้อไม่สงบ การรักษาคล้ายคลึงกัน แต่ยาคนละตัวกัน
 
 

ความอันตรายของไวรัสตับอักเสบ B และ C

1. เป็นถึงระยะหนึ่งก็จะเป็นตับแข็งได้ ขึ้นกับว่าเชื้อสงบมากน้อยแค่ไหน ถ้าเชื้อสงบก็นานกว่าจะเป็น แต่ถ้าเชื้อไม่สงบก็จะเกิดเร็วกว่า
2. เป็นมะเร็งตับได้มากกว่า และ/หรือ เร็วกว่าคนปกติทั่วไป

ฉะนั้นเราจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร
1. ถ้าในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นทางฝ่ายพ่อ หรือแม่เป็นมะเร็งตับ ให้สงสัยว่าในครอบครัวอาจมีไวรัสตับอักเสบ เฉพาะ B กับ C นะครับ ควรจะไปตรวจหาเชื้อเพื่อรับการวินิจฉัยแต่เนิ่น
2. ถ้ารู้ว่าตัวเองเป็นแล้วก็ต้องป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น ไม่บริจาคเลือด มีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งต้องใช้ถุงยางอนามัย หญิงที่จะคลอดบุตรการผ่าคลอดจะลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปยังบุตรได้
3. อย่าไปรับเชื้อเพิ่ม เพราะปัจจุบันเริ่มมีเชื้อหลายสายพันธุ์
4. อย่าทำร้ายตับเพิ่มโดยการดื่มเหล้า ของมึนเมา
5. อาหารที่มีเชื้อรา เอฟราท๊อกซิน ควรหลีกเลี่ยง เช่น ถั่วลิสง พริกป่น เป็นต้น
6. ยาหลายชนิดมีผลกับตับ เพราะฉะนั้นไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
7. พวกยาต้ม ยาหม้อ ยาจีน ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากเราไม่ทราบส่วนประกอบของมัน ถึงแม้บางอย่างจะรู้ว่าเค้าใส่ต้นอะไรลงไป แต่ในของธรรมชาติมีสารหลายๆ อย่างปนกันเราไม่มีทางรู้ว่าสารที่อยู่ในของนั้นๆ จะดีทุกตัวจริงหรือไม่
8. ผู้ที่มีสามี หรือภรรยา เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ B ควรไปตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีภูมิหรือยัง ถ้ายังก็ควรได้รับการฉีดวัคซีน ถึงแม้มีภูมิแล้วก็ยังแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์ ครับ
9. เรื่องติดจากการรับประทานร่วมกันเกิดเฉพาะไวรัสตับ A กัน E แต่จะเห็นว่าเค้าจะพูดร่วมๆ ไว้สำหรับไวรัสตับครับ เพื่อคนอ่านจะได้ไม่สับสนมาก
10. พบแพทย์ตามนัด เจาะเลือด ตรวจชิ้นเนื้อจากตับ อัลตราซาวน์ตับ เป็นระยะ เพื่อดูการทำงานของตับ ตรวจหาภาวะตับแข็ง และตรวจหามะเร็งตับตั้งแต่ระยะแรกๆ

 

All Replys: 0   Pages: 1/0