Support
Slim&Beauty
083-448-9845
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

สุขภาพผิวสวย: “ครีมกันแดด” เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยกับผิว

noot_0063@hotmail.com | 26-07-2555 | เปิดดู 22998 | ความคิดเห็น 0

 

สุขภาพผิวสวย:  “ครีมกันแดด” เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยกับผิว
โดย พู่ระหง

ถึง ฤดูกาลแห่งการพักร้อน นอนฟังเสียงคลื่น ชื่นมื่นกับบรรยากาศชายทะเลกันอีกแล้วนะคะแต่ก่อนที่จะออกไปสนุกนอกบ้าน คุณเตรียมมาตรการป้องกันผิวกันแล้วหรือยังเอ่ย?

อันตราย จากแสงแดดนั้นน่ากลัวขนาดไหนก็คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่ ผลกระทบร้ายแรงที่สุดนั้นสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังเชียวละ ดังนั้นที่จะขาดเสียมิได้ในกระเป๋าของคุณในยามนี้ก็คือครีมกันแดด

ที่ มาของครีมกันแดด ในระยะแรกนั้นเขาทำขึ้นเพื่อดูดซับแสงที่ทำให้ผิวไหม้แดงนั่นก็คือ รังสียูวีบี (UVB) เป็นสำคัญ ดังนั้นการวัดประสิทธิภาพของครีมกันแดดจึงเน้นที่ความสามารถในการป้องกันผิว ไหม้แดงจากการใช้ครีมกันแดดเปรียบเทียบกับการไม่ใช่ ซึ่งก็คือ ค่า SPF ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน ค่า SPF จึงมีความหมายว่าเมื่อคุณทาครีมกันแดดอย่างทั่วถึงในความหนา 2 มิลลิกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร คุณจะต้องใช้เวลาตากแดดเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่ากว่าจะทำให้ผิวไหม้แดง

สำหรับ คนไทยซึ่งมีผิวสีคล้ำกว่าฝรั่ง จะใช้เวลาท่ามกลางแสงแดดจัดประมาณ 15 นาที ผิวจึงจะเริ่มไหม้แดง แต่การใช้ครีมกันแดด SPF 15 อย่าง ถูกต้องจะช่วยป้องกันผิวได้ประมาณ 2 ชั่วโมง

มา ถึงปัจจุบันนี้ รังสียูวีเอ (UVA) ก็เข้ามามีบทบาทต่อการทำลายผิวด้วย สำหรับเจ้าตัวนี้มาทีหลังแต่ดังกว่า เพราะนอกจากจะทำให้ผิวคล้ำแล้ว ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง อีกทั้งทำลายเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอีลาสติก จึงทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นรวดเร็วเหมือนกับที่ทำให้ผิวไหม้แดงภาย ใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับแสงแดด แต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นทีละน้อยอย่างช้าๆ และจะเห็นได้หลังถูกแดดนานนับสิบปี

ด้วย เหตุนี้ ครีมกันแดดในปัจจุบันจึงได้รับการพัฒนาเพื่อป้องกันรังสียูวีเอเพิ่มมากขึ้น แต่การวัดประสิทธิภาพของการป้องกันแสงชนิดนี้ ยังไม่มีมาตรฐานสากลเหมือนกับค่า SPF ทำให้มีปัญหากับการเลือกใช้อย่างเหมาะสม เวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จึงขอแนะนำให้ดูที่ฉลากก่อน มองหาที่มีส่วนผสมของสารกันแดดที่มีฤทธิ์ป้องกันยูวีเอได้ดี เช่น Oxybenzone Parsol 1789 Tio Zno Mexoryl Sx. XL เป็นต้น โดยครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพป้องกันยูวีเอได้ดีน่าจะมีสารที่กล่าวมาผสม กันอย่างน้อยสัก 2 ชนิดขึ้นไป

ใน การเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF อย่างเหมาะสมนั้น นอกจากจะพิจารณาดูที่ส่วนผสมแล้ว ก็ต้องดูในเรื่องของสถานที่และกิจกรรมที่จะทำด้วย เช่น

-ในที่ทำงาน : ถ้าคุณทำงานอยู่ในออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ จะออกไปข้างนอกบ้างเฉพาะช่วงเวลาสั้นๆ คุณสามารถจะใช้แค่ม้อยซเจอไรเซอร์หรือรองพื้นชนิดผสมสารกันแดดที่มีค่า SPF 15 ก็เพียงพอแล้ว

-ขณะขับรถหรือนั่งใกล้หน้าต่าง : ส่วนใหญ่แล้วกระจกด้านข้างรถที่ติดฟิล์มกรองแสงจะป้องกันแสงแดดได้เท่ากับ SPF 10 แต่ถ้าเป็นกระจกด้านหน้าก็อาจจะป้องกันได้มากขึ้นอีกถึงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถึงอย่างไรหากคุณต้องนั่งอยู่ในรถนานๆ การใช้ครีมกันแดดก็เป็นเรื่องที่จำเป็นอยู่ดี และถ้าคุณนั่งใกล้กับกระจกธรรมดา แสงที่ถูกกรองจะเท่ากับ SPF 8 เท่านั้น ซึ่งถ้าไม่ระวัง ผิวก็สามารถจะถูกแดดเผาได้เหมือนกันค่ะ ดังนั้นทางที่ดีควรมีครีมกันแดดชนิดไม่ผสมน้ำมันติดกระเป๋าถือไว้หน่อย จะได้หยิบใช้ได้สะดวกทั้งในที่ทำงานและในรถ

-เมื่ออยู่ใกล้ชายทะเลหรือริมน้ำ : ต้องระวังให้มากทีเดียวค่ะ เพราะแสงแดดที่ส่องกระทบผิวน้ำจะสะท้อนรังสียูวีกลับออกมา ดังนั้นจึงเป็นอันตรายมากขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับผู้ที่ไปเล่นน้ำอยู่ใกล้ชาย หาดหรืออยู่ในเรือ ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้จำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 เป็นอย่างน้อยและเป็นชนิดกันน้ำด้วยจึงจะปลอดภัยกับผิวที่สุด

-ขณะเล่นกีฬากลางแจ้ง : ใช้ครีมกันแดดชนิดกันน้ำหรือที่ระบุว่าสำหรับ “Sport” โดยเฉพาะและมีมีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 30 ระหว่างนั้นอย่าลืมทาซ้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะหากมีเหงื่อออกมากๆ

-สำหรับผิวแพ้ง่าย : ครีมกันแดดอาจจะเป็นปัญหาสำหรับคุณ ดังนั้นจึงควรใช้เฉพาะชนิดที่ระบุว่าสำหรับผิวแพ้ง่ายเท่านั้น

สรุป แล้ว การป้องกันอันตรายจากแสงแดดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวควรจะเริ่มป้องกันกัน ตั้งแต่วัยเด็กเป็นดีที่สุด ซึ่งนอกจากจะป้องกันด้วยการใช้ครีมกันแดดแล้ว ยังควรหลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแดดจัดในช่วงเวลา 9.00-15.00 น. สวมเสื้อผ้าปกคลุมมิดชิดหน่อย สวมแว่นตาหมวกปีกกว้าง หรือกางร่มให้เป็นนิสัย และเลือกใช้ครีมกันแดดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ดังที่กล่าวมาแล้ว

ใส่ ใจและเคร่งเครียดต่อมาตรการป้องกันผิวกันหน่อย คุณสาวๆ จะได้เริงร่ากับสายลมและแสงแดดได้อย่างปลอดภัยไร้กังวลตลอดฤดูร้อนนี้...ขอ ให้แฮปปี้ ฮอลิเดย์ กันทั่วถ้วนหน้านะคะ

ความคิดเห็น

วันที่: Sun Nov 17 10:57:34 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0